High Availability

รหัสหลักสูตร : AHT-High Availability (HA)

ระยะเวลา : 1 วัน ราคา : 4,500 บาท ต่อคน

วัตถุประสงค์ : สามารถทำ High Availability ของ SQL Server ได้

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ : 
บุคคลทั่วไปที่สนใจจะ นำเอาหลักการ High Availability ของ SQL Server ไปใช้งานในองค์กร

สื่อต่างๆ ที่ใช้ในการอบรม : 
เอกสารสำหรับการอบรม พื้นฐานผู้เข้าอบรม มีความรู้พิ้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน Microsoft SQL Server

สิ่งที่ได้รับหลังจากการอบรม : สามารถทำ High Availability ของ SQL Server ได้ การจัดการ High Availability

Course Outline 

  • การติดตั้ง Clustering
  • การติดตั้ง Database Mirroring
  • การติดตั้ง Log Shipping
  • การติดตั้ง Replicate

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปัจจุบันองค์กรเอ็นเทอร์ไพรส์ส่วนใหญ่มักต้องการ ที่จะมีระบบโครงสร้างการบริหารจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ เพื่อให้สามารถบรรลุความต้องการและเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร ซึ่งจะช่วยสร้างรายรับและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อองค์กรได้เป็นอย่างดี หลายๆ องค์กรมักมองหาแนวทางสำคัญในการปฏิบัติการดังกล่าวอยู่หลายวิธีการ บางองค์กรอาศัยยึดหลักการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานที่มีการกำหนดไว้เช่น ITIL (IT Infrastructure Library), ITSM (IT Service Management) เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้ว ประเด็นที่สำคัญและเป็นที่น่าจับตาในวิธีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็คือการสร้างและเตรียมความพร้อมของระบบให้มีความคงทนสูง (High Availability : HA) โดยหากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะมีระบบที่เตรียมพร้อมอยู่แล้วสามารถกลับมาทำงานแทนได้ทันที ปัจจัยนี้นับเป็นส่วนสำคัญในการที่จะสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานอย่าง ITIL หรือ ITSM ได้

องค์กร IEEE ได้นิยามคำว่า High Availability ไว้ว่า เป็นการที่สามารถใช้งานทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะเน้นที่สามารถใช้งานได้ แม้ว่าระบบคอมพิวเตอร์ยังปกติแต่ไม่สามารถใช้งานได้ซึ่งอาจเกิดจากช่องทางการเข้าถึงทรัพยากรนั้นเต็ม เราจะเรียกระบบนั้นไม่เป็น High Availability พูดสรุปโดยรวมระบบของเราต้องสามารถใช้งานได้สูงนั่นเอง

สำหรับงานระบบข้อมูลที่ต้องการความมั่นคงต่อการทำงานสูงอย่างเช่นในกรณีเครื่อง Database Server, Email Server หรือ Web Server ในธุรกิจด้านการเงิน-ธนาคาร, ธุรกิจด้านสาธารณูปโภคต่างๆ แน่นอนว่าหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับระบบดังกล่าวแล้ว อาจจะมีผลเสียหายต่อผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มความพร้อมใช้งานให้มีความมั่นคงมากที่สุด โดยจะมีการใช้หน่วยนับที่เรียกว่า อัพไทม์ (Uptime) เป็นเวลาของระบบที่จะสามารถให้บริการได้ ตัวอย่างเช่น 99.999% หรือที่มักพูดกันว่า ระบบสามารถทำงานได้ในระดับ Five Nine โดยปัจจุบันมักจะมีผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ อ้างว่า อุปกรณ์ของพวกเขาสามารถรองรับการทำงานอย่างไม่มีติดขัดได้ในระดับ Five Nine

การออกแบบ HA และ รูปแบบต่างๆ ที่ใช้งาน
การออกแบบ HA ให้กับระบบนั้น องค์กรควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือของระบบที่ใช้งาน, ความยืดหยุ่น, ต้นทุนที่เหมาะสม, ความต่อเนื่องในการให้บริการ, การกู้คืนระบบ เป็นต้น เรายังสามารถจำแนกการทำ HA ออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น

redundancy

การใช้เทคโนโลยีคลัสเตอร์ (Cluster) : เพื่อเพิ่มอัพไทม์ของระบบ โดยการสร้างคลัสเตอร์ที่มีมากกว่าหนึ่งเครื่อง และคอนฟิกูเรชันให้คอมพิวเตอร์ในระบบทำงานแทนกัน ในกรณีที่เครื่องใดเครื่องหนึ่งผิดพลาดขึ้น ระบบโดยรวมจะยังคงทำงานได้ด้วยการทำงานของอีกเครื่อง

การทำรีดันแดนซ์ (Redundancy) : โดยใช้อุปกรณ์จำนวนสองชุดขึ้นไปทำงานควบคู่กันไป เพื่อสามารถรองรับการทำงานในกรณีเกิดข้อผิดพลาดกับระบบใดระบบหนึ่ง มันยังช่วยในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีด้วย นิยมใช้กันมากในส่วนของระบบเครือข่าย

การทำโหลด บาลานซ์ (Load Balance) : เราสามารถที่จะเอาเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัวมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ทำงานหลายๆ อย่างร่วมกันได้ เป็นการสร้างประสิทธิภาพในแบบ HA ให้กับระบบโดยรวมได้เป็นอย่างดี

การเรพพลิเคตและการแบ็กอัพ (Replication & Backup) : การเรพพลิเคตนั้นจะหมายถึงการคัดลอกข้อมูลจากระบบหนึ่ง (ระบบหลัก) ไปอีกระบบหนึ่ง (ระบบสำรอง) เพื่อทำการเก็บข้อมูลเอาไว้ (Backup) ซึ่งในหัวข้อนี้จะเน้นไปที่การสร้าง HA ให้กับเรื่องของข้อมูลและอุปกรณ์สตอเรจเป็นหลัก ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้องค์กรยังมีข้อมูลที่อัพเดตและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง แม้ระบบหลักจะเกิดล่มลงไปแล้วก็ตาม
เพิ่มประสิทธิภาพผ่านเทคโนโลยี Virtualization
มาต่อกันที่เรื่องของ Virtualization กันบ้าง จริงๆ แล้ว นิยามของเทคโนโลยีเวอร์ชวลนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากมาย แต่สรุปแล้วก็มุ่งไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ เป็นการจำลองเครื่องเสมือนด้วยซอฟต์แวร์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง สามารถทำงานเป็นเครื่องเสมือนหลายๆ ระบบได้ โดยแต่ละระบบจะมีทรัพยากรหน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเสมือนที่เป็นอิสระต่อกัน เครื่องเสมือนแต่ละเครื่องจึงสามารถมีระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์เป็นของตนเองโดยอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งเครื่องเสมือนที่จำลองนี้เราจะเรียกว่า เครื่องเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machine: VM) หรือวีเอ็มนั่นเอง

LoadBalancing

องค์กรสามารถที่จะซื้อเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว แต่จำแนกงานออกมาได้หลายๆ อย่าง Database Server, Web Server, Management Server, Mail Server ฯลฯ ซึ่งปกติแล้วการใช้งานลักษณะข้างต้นนั้น ในอดีตคุณจำเป็นจะต้องซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์มารองรับงานในแต่ละงาน ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีเวอร์ชวล จึงช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของฮาร์ดแวร์ลงไปได้อย่างมากมาย โดยนำเอางานเหล่านั้นมารวมศูนย์กลางที่เซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว (บางคนจะเรียกเทคนิคในลักษณะนี้ว่าเป็นการทำ Consolidation) สำหรับผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านเวอร์ชวลนั้นก็มีที่นิยมกันอยู่เช่น VMware, Microsoft และ Citrix เป็นต้น เราสามารถนำเทคโนโลยีเวอร์ชวลมาแบ่งแยกตามชนิดของทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยเราจะลองยกตัวอย่างให้ดูกันเพื่อให้เห็นภาพกันสักนิด ตัวอย่างเช่น

การทำ Platform virtualization : เป็นการแบ่งระบบปฏิบัติการแยกออกจากทรัพยากรของระบบ เพื่อให้สามารถรองรับหลายๆ ระบบปฏิบัติการได้โดยแบ่งทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ระบบ VMware, Hyper-V, Citrix XenServer เป็นต้น

การทำ Storage virtualization : เป็นการของปรับเปลี่ยนระบบพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในเชิงกายภาพ (Physical) ด้วยการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเชิงลอจิคอล (Logical) ช่วยในการบริหารจัดการเรื่องของการเก็บข้อมูลได้ดีขึ้น

การทำ Application virtualization : เป็นการนำเอาแอพพลิเคชันไปติดตั้งและใช้งานบนระบบฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของเอง

การทำ Desktop virtualization : เป็นการทำงานบนหน้าจอเสมือนโดยไม่ได้ใช้งานระบบ ณ เครื่องที่อยู่ตรงหน้าจริงๆ แต่เป็นการสร้างเดสก์ท็อปจากเครื่องที่ประมวลผลในอีกสถานที่หรือห่างออกไป

การทำ Network Virtualization : เป็นการแบ่งแยกระบบ LAN ออกเป็นหลายระบบแยกจากกันโดยเด็ดขาด เพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบและการส่งข้อมูลไม่รบกวนกัน

ต่อยอดสู่ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง
คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เป็นนวัตกรรมทางด้านดาต้าเซ็นเตอร์รูปแบบใหม่ ที่เกิดจากแนวคิดการให้บริการโดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมีเซิร์ฟเวอร์มากมายทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้บริการแอพพลิเคชันต่างๆ มันมีข้อดีคือว่า ช่วยลดความซับซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้ง ทำงานผ่านเทคโนโลยีเวอร์ชวลนั่นเอง ระบบจึงไม่ได้ถูกจำกัดในเรื่องของสมรรถนะและขีดความสามารถของการใช้ระบบประมวลผลจากระบบต่างๆ ตัวอย่างการใช้งานก็มีเช่น การใช้ Web Conferencing, Online Meeting ที่ให้บริการการประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้งานอาจอยู่ในห้องเดียวกัน หรือห่างไกลกันคนละซีกโลกก็ได้

สำหรับเทคโนโลยี HA นั้นช่วยป้องกันความเสียหายและความสูญเสียที่องค์กรจะต้องเผชิญ หากระบบที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ เกิดปัญหาจนไม่สามารถให้บริการได้ ความเสียหายดังกล่าวสามารถคำนวนโดยใช้ค่าที่เรียกว่า Cost of Downtime ซึ่งเกิดจากการประเมินและรวบรวมตัวเลขของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน เช่น การสูญเสียรายได้, ค่าใช้จ่ายคงที่หรือค่าใช้จ่ายแปรผันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เครื่องไม่สามารถทำงานได้, ค่าจ้างพนักงาน, ค่าปรับต่างๆ ที่ต้องจ่ายให้แก่คู่ค้า เป็นต้น นอกจากนั้นมันยังช่วย ป้องกันและแก้ไขความสูญเสียทางด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสทางธุรกิจ, ความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่ง และที่สำคัญก็คือ ข้อมูลที่สำคัญ ๆ ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านการเงิน หรือข้อมูลทางด้านการตลาด ตลอดจนข้อมูลของลูกค้าที่ใช้กันอยู่ตลอดเวลาที่อาจจะสูญเสียไปด้วย

Cloud Computing

ส่วนในเรื่องของการทำ Virtualization นั้น นอกจากจะให้ประโยชน์เรื่องการประหยัดเงินแล้ว ยังสามารถใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ ประหยัดพื้นที่ ค่าไฟฟ้าและการบำรุงรักษา การบริหารจัดการ ความคล่องตัวการติดตั้งระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ การทำ Backup และ Recovery สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น ภายใต้เครื่องเวอร์ชวล แมชชีนเดียวกัน แต่ทั้งนี้สิ่งที่องค์กรไม่ควรมองข้ามหรือละเลย คือการออกแบบเทคโนโลยี Virtualization ที่ควรจะต้องตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ รวมทั้งระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่จะนำไปวิ่งข้างนอกองค์กร โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญสำหรับองค์กรด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก adslthailand.com